5 ประเภทอาหาร โซเดียมต่ำ Kleensstation

บทความ5 ประเภทอาหาร โซเดียมต่ำ Kleensstation


เพื่อน ๆ ที่ทานอาหารคลีน หรือ เพื่อน ๆ ที่ดูแล สุขภาพหลาย ๆ คน อาจจจะยังไม่รู้ และ มองข้ามความสำคัญ ของโซเดียมไป การดูแล สุขภาพ และ ลดน้ำหนักนั้น เราจำเป็น ที่จะต้อง มีการเอาใจใส่ ในเรื่องของ โซเดียมด้วย

 

หลาย ๆ คน มีความคิด ที่ว่าโซเดียม ( Sodium ) คือ เกลือ หรือ โซเดียว จะต้องมีรสชาติ ที่เค็มจัด ๆ เท่านั้น แต่จริงแล้ว โซเดียม ( Sodium ) สามารถ อยู่ได้ในทุกเมนูอาหาร และ เครื่องดื่ม แต่จะอยู่ในปริมาณ ที่มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับ กระบวนการ การผลิต และ ส่วนผสม ของอาหาร และ เครื่องดื่ม นั้น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าเราจะทานอาหาร อะไรก็ตาม ร่างกายของเรา ก็สามารถมีการ รับโซเดียม ( Sodium ) เข้าสู่ ร่างกายได้ ทั้งนั้น

 

โซเดียม ( Sodium ) คืออะไร

โซเดียม ( Sodium ) เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่เป็นตัว ที่คอย รักษาสมดุลของน้ำ กรด - ด่าง ในร่างกาย อีกทั้ง ยังทำหน้าที่ ควบคุม ความดันโลหิตในร่างกายของเรา ร่างกายของเรา สามารถขับ หรือ ปล่อย โซเดียม ( Sodium ) ได้ทั้งหมด 3 ทางได้แก่ ปัสสาวะ อุจจาระ และ เหงื่อ ผู้ที่ เป็นโรคไตเรื้อรัง และ ผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง ร่างกายของเรานั้น จะมีประสิทธิภาพ ในการขับ หรือ ปล่อยโซเดียม ( Sodium ) ที่ลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่ง โซเดียม ( Sodium ) ในหลอดเลือดของเราได้

 

โซเดียม ( Sodium ) มาจากไหน

 

เครื่องปรุง ที่มีส่วนผสมของเกลือ มาก ๆ ( รสเค็มจัด )

เครื่องปรุง ที่มี โซเดียม ( Sodium ) ได้แก่ เกลือเม็ด เกลือป่น น้ำปลา น้ำมันหอย ซีอิ้วขาว เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ทุกชนิด น้ำปราร้า กะปิ น้ำกะปิ ผงปรุงรส ซุปก้อน น้ำพริกสำเร็จรูป ซึ่ง โซเดียม ( Sodium ) สามารถได้ ในสิ่งเหล่านี้ และ ยังมีเครื่องปรุง อีกหลายนิด ที่เป็น เครื่องปรุง ที่มีโซเดียม ( Sodium ) สูง

 

อาหารมักดอง ( มีรสเค็ม ไม่มาก )

อาหารเหล่านี้ จะมีความเค็ม ค่อนข้างน้อย  อย่างเช่น ปูดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ไส้กรอก แหนมหมู ปลาส้ม ผลไม้ดอง หมูแฮม ไส้อั่ว กระเทียมดอง หน่อไม้ดอง หน่อไม้ส้ม ส้มผักเสี้ยน ผักกาดดอง ต้นหมอดอง ถั่วงอกดอง เป็นต้น อาหารเหล่านี้ จะมีแบบดองเค็ม และ ดองเปรี้ยว เพราะฉะนั้น ก็ควร รับประทาน อย่างมีสติ

 

ข้อดีของอาหาร ที่มีโซเดียม ( Sodium )  ต่ำ

ก็คือ การที่เรา ทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ จะมีส่วนช่วยป้องกัน และ ลดอาการของโรคไต ภาวะหัวใจล้มเหลว รวมไปถึง ยังช่วยลด ภาวะความดันโลหิตสูง ด้วยนะครับ

 

ปริมาณ โซเดียม ที่ร่างกาย ควรได้รับต่อวัน

2,000 – 3,000 มิลิกรัม ต่อวัน หรือ ประมาณ 1 ช้อนชา

 

5 ประเภทอาหาร โซเดียมต่ำ

 

1. ผัก ได้แก่ บรอกโคลี่, กะหล่ำดอก, พริกไทย, มันฝรั่ง, ทันเทศ, ฟังทอง, พาร์สนิป

2. ผลไม้ ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, แอปเปิ้ล, อะโวคาโด

3. ถั่ว และ ธัญพืช ได้แก่ ถั่วลิสง, อัลมอนด์, เมล็ดฟักทอง, ควินัว, ข้าวกล้อง

4. เนื้อสัตว์ ได้แก่ ไก่, ไก่งวง, ปลา, ปลากะพงขาว, ปลาทูน่าสด

5. น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันมะกอก, น้ำมันอะโวคาโด

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

 

ขนมปังโฮลวีท ขนมปังสาย Healthy

ประเภทขนมคลีน แคลน้อย สำหรับสาย ไดเอท


แท็ค: